ตัวอย่างข้อสอบ

(ข้อ 1.) นายหนึ่งขายที่ดินมีโฉนดของตนแปลงหนึ่งให้กับนายสองในราคา  5 ล้านบาท   นายสองตอบตกลงซื้อ โดยมีข้อสัญญาว่ส นายหนึ่งจะไปจดทะเบียนที่ดินแปลงนี้ให้นายสองในต้นเดือนหน้า นายหนึ่งก็ส่งมอบที่ดินแปลงนี้ให้กับนายสอง พร้อมกับชำระราคา   ก่อนถึงวันนัดโอน  นายสามติดต่อขอซื้อที่ดินจากนายหนึ่งในราคา 10  ล้านบาท นายหนึ่งให้นายสามไปพบที่สำนักงานที่ดิน ทั้งคู่มาที่สำนัหงานที่ดิน  ทำหนังสือสัญญาขายที่ดินแปลงนี้ราคา  10 ล้านบาท พร้อมกับยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธินิติกรรมต่อเจ้าพนักงานที่ดิน  นายสองงทราบข่าว  จึงมายื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดิน อ้างว่าตนซื้ออยู่ก่อน   ขอให้เจ้าหน้าที่ที่ดินอย่ารับจดทะเบียน และขออายัดที่ดินแปลงนี้ นายสามเห้นว่าที่ดินมีปัญหา  ก็ขอให้นายหนึ่งไปตกลงกับนายสองให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยมาจดทะเบียนกันใหม่  ทั้งคู่ยื่นคำขอถอนคำขอจดทะเบียน  ต่อมาที่ดินแปลงนี้มีราคาท้องตลาดสูงขึ้นมาก นายหนึ่งอยากได้ที่ดินคืน  นายหนึ่งจึงบอกให้นายสองออกไปจากที่ดินแปลงนี้ นายสองไม่ยอม   นายหนึ่งฟ้องให้ศสาลบังคับนายสองออกไปจากที่ดินแปลงนี้ ส่วนนายสามก็มาขอให้นายหนึ่งไปโอนที่ดิน  แต่นายหนึ่งไม่ยอมฌอนให้  นายสองมาถามท่านว่า นายสองจะต่อสู้ให้ชนะคดีได้หรือไม่ และ นายสามจะมีสิทธิเรียกร้องให้นายหนึ่งไปจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงนี้ให้ตนได้หรือไม่ ดังนี้ตามข้อเท็จจริงนี้  ท่านจะให้คำตอบนายสองและนายสามอย่างไร เพราะเหตุใด
 

(ข้อ  2.)นายหนึ่งขโมยรถยนต์นายห้ามาขายให้นายสอง  นายสองซื้อรถยนต์คันดังกล่าวโดยสุจริต  ต่อมานายสอง ถูกเจ้าหนี้ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 1 ล้านบาท  ศษลมีคำพิพากษาให้นายสองแพ้คดี แต่นายสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา รถยนต์คันนี้ถูกยึดขายทอดตลาด นายสามเป็นผู้ประมูลซื้อได้ เมือ่ซื้อแล้ว นายสามรู้ความจริงว่ารถยนต์คันนี้เป็นของนายห้า นายสามก็ไม่อยากได้ไว้  นายสามขายต่อให้นายสี่ นายสี่ซื้อโดยสุจริต  นายห้ามาเจอรถยนต์อยู่กับนายสี่ จึงขอให้นายสี่คืนให้ตน แต่นายสี่ไม่คืน  นายห้าฟ้องให้ศาลบังคับนายสี่ให้คืนรถคันนี้ อ้างว่าเป็นรถของตนที่ถูกคนร้ายลักไป  นายสี่ให้การต่อสู้ว่า นายสี่ซื้อโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน  นายสี่จึงมีสิทธิในรถยนต์ ขอให้ศาลยกฟ้องนายห้า
        2.1 นายสี่ถามท่านว่า ข้อต่อสู้ของตนที่ยกขึ้นต่อสู้กับนายห้า นายสี่จะมีทางชนะคดีหรือไม่  และนายสี่จะมีทางแก้ไขอย่างไร ดังนี้ตามข้อเท็จจริง ท่านจะให้คำตอบนายสี่อย่างไร เพราะเหตุใด
 แนวตอบ.....1. ม.475 477 และ 482 วรรค ท้าย
                  2.ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
                  3. นายสี่แพ้คดี และจะให้นายสามรับผิดไม่ได้
                  4. นายสี่เสียทรัพย์และเงิน
                  5. นายสามสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่า  ถ้านายสี่เรียกเข้ามาในคดี  และนายสี่จะชนะคดี  และนายสี่มีสิทธิดีกว่านายห้า
                 6. นายสี่เล่นงานสามเพราะรอนสิทธิ
(ข้อ 3.)  โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลว่า โจทก์ได้จดทะเบียนขายที่ดินไว้กับจำเลยในราคา 10 ล้านบาท  กำหนดสินไถไว้ 20 ล้านบาท   ต่อมาอีก 9 ปี  โจทก์มาขอไถที่ดินแปลงนี้คืน แต่จำเลยไม่ยอมรับการไถถอน  ขอให้ศาลบังคับจำเลย ให้จำเลยไปจดทะเบียนไถถอนที่ดินที่ขายฝากให้โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์มาไถโดยไม่ชอบ ขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ในระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลว่า ที่ดินที่ขายฝากมีค่าเช่า มีรายได้ มีผลประโยชน์เดือนละ   2แสนบาท และจำเลยเป็นผู้รับไปแต่ฝ่ายเดียว  หากคดีนี้จำเลยชนะ  โจทก์ก็จะต้องเสียหายและเสียสิทธิ ไม่ได้รับผลประโยชน์ อันเกิดจากที่ดินที่ขายฝาก  ในระหว่างคดี ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ตั้งผู้จัดการ เพื่อรวบรวมผลประโยชน์  อันเกิดจากที่ดินขายฝากมาวางต่อศาลไว้ก่อนมีคำพิพากษา  ศาลไต่สวนสืบพพยานโจทก์จำเลยได้ข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์  และมีคำสั่งให้ตั้งนายแดงเป้นผู้จัดการ เพื่อรวบรวมผลประโยชน์อันเกิดจากที่ดินที่ขายฝากมาวางต่อศาลไว้ก่อนมีคำพิพากษา   ต่อมา ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า  โจทก์ใช้สิทธิไถโดยชอบ แต่จำเลยกลับบิดพริ้ว เพราะที่ดินที่ขายฝากมีราคาท้องตลาดสูงขึ้นมาก  และมีคำพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี ดังนี้
         3.1 ถ้าจำเลยมาถามท่านว่า ที่ศาลมีคำสั่งให้ตั้งนายแดงเป็นผู้จัดการ  ชอบด้วยกฎหมายขายฝากหรือไม่
         3.2 และถ้าท่านเป็นศาล  ท่านจะออกคำพิพากษาออกมาบังคับให้ชอบด้วยกฎหมายขายฝากได้อย่างไร เพระเหตุใด
แนวคำตอบ..........ม.491  ขายฝาก  กรรมสิทธิโอนพร้อมดอกผล
                        1.ศาลมีคำสั่งให้ตั้งแดงเป้นผู้จัดการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
                        2. ดอกผลจำเลยมีสิทธิได้
                        3.เมื่อโอนกรรมสิทธิ์เป็นของจำเลย ดอกผลจำต้องตกเป็นของจำเลยด้วย และโจทก์ไม่มีสิทธิ์
                        4.บังคับจำเลยไปจดทะเบียนไถถอนขายฝากให้โจทก์
                         5.ให้โจทก์นำสินไถมาชำระให้จำเลย  จึงจะชอบด้วยกฎหมายขายฝาก เพราะสัญญาขายงากเป้นสัญญาต่างตอบแทน
                                 ************************************
หมายเหตุ.....ถ้ามีข้อแก้ไข  หรือจดไม่เหมือนกัน   สามารถบอกได้นะค่ะ

Read more...

วิชา LA 103 ป.พ.พ.นิติกรรมและสัญญา (ซ่อม)

วิเคราะห์แนวข้อสอบซ่อมแยกตามมาตราที่น่าจะออกสอบ
วิชา LA 103 ป.พ.พ.นิติกรรมและสัญญา
1.      มาตรา 169 ว.1,169 ว.2+360หรือ 170 หรือ155 หรือ 173  (คาดว่าน่าจะออกมาตรา 169 วรรคสอง ควบ มาตรา 360)
มาตรา 169 วรรค 2 การแสดงเจตนาที่ได้ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลัง การแสดงเจตนานั้นผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย หรือถูกศาลสั่ง ให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
มาตรา 360 บทบัญญัติแห่ง มาตรา 169 วรรคสองนั้น ท่านมิให้ ใช้บังคับถ้าหากว่าขัดกับเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือหากว่าก่อน จะสนองรับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตายหรือตก เป็นผู้ไร้ความสามารถ
ตัวอย่างโจทย์
ข้อ 1.1)นายสมบัติซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานครส่งจดหมายโดยทางไปรษณีย์เสนอขายบ้านหลังหนึ่งของตนซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้แก่นายอาทิตย์ซึ่งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ในราคา 5,000,000 บาท หลังจากส่งจดหมายไปแล้ว 5 วัน นายสมบัติถูกศาลแพ่งสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ  นายอาทิตย์ได้ทราบข่าวว่านายสมบัติถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้ว แต่อยากได้บ้านหลังนั้น นายอาทิตย์จึงเขียนจดหมายส่งทางไปรษณีย์สนองตอบตกลงซื้อบ้านส่งไปให้นายสมบัติ ณ ที่อยู่ของนายสมบัติ  นางสมศรีซึ่งเป็นผู้อนุบาลของนายสมบัติได้รับจดหมายดังกล่าวไว้  ดังนี้ สัญญาซื้อขายบ้านระหว่างนายสมบัติกับนายอาทิตย์เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 169 วรรค 2 วางหลักว่า การแสดงเจตนาที่ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลังผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ฯ หรือเสมือนคนไร้ฯ
มาตรา 360 วางหลักว่า ตามมาตรา 169 วรรค 2 ยกเว้นการบังคับ หาก 1)ขัดกับเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือ  2) หากก่อนสนองรับ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ
วินิจฉัย
-          ประเด็นการแสดงเจตนาของนายสมบัติยังมีผลหรือไม่  วินิจฉัยว่าตามอุทาหรณ์เมื่อนายสมบัติได้แสดงเจตนาออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไปแม้ภายหลังศาลแพ่งจะสั่งให้นายสมบัติเป็นคนไร้ความสามารถ (มาตรา 169 วรรค 2) แต่ตามอุทาหรณ์ปรากฏว่านายอาทิตย์ทราบก่อนสนองเจตนาว่านายสมบัติถูกศาลแพ่งสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เข้าหลักข้อยกเว้นตามมาตรา 360 ซึ่งมิให้นำบทบัญญัติตามมาตร 169 วรรค 2 มาใช้บังคับ จึงมีผลให้การแสดงเจตนาของนายสมบัติมีอันเสื่อมไป ถือว่าไม่มีการเสนอ
-          ประเด็นการแสดงเจตนาของนายอาทิตย์มีผลเช่นไร วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริง นายอาทิตย์ทราบว่าศาลแพ่งสั่งให้นายสมบัติเป็นคนไร้ความสามารถแล้ว  แต่อยากได้บ้านหลังนั้นจึงเขียนจดหมายส่งทางไปรษณีย์ตอบตกลงซื้อบ้าน เข้าหลักข้อยกเว้น กรณีที่ก่อนการสนองรับ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่า ผู้เสนอเจตนาตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ (มาตรา 360)  จึงเป็นการทำคำสนองโดยไม่มีคำเสนอ
สรุป        สัญญาซื้อขายบ้านระหว่างนายสมบัติกับนายอาทิตย์ไม่เกิดขึ้น   เพราะนายอาทิตย์ทราบว่านายสมบัติถูกศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถก่อนการแสดงเจตนา (มาตรา 169 วรรค 2 เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 360) ถือว่าไม่มีคำเสนอของนายสมบัติ  มีเพียงคำสนองของนายอาทิตย์ ถึงแม้นางสมศรีผู้อนุบาลของนายสมบัติจะได้รับจดหมายคำสนองของนายอาทิตย์ สัญญาซื้อขายบ้านก็ไม่เกิดขึ้น
ข้อ 1.2.) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 นายต้นซึ่งอยู่ที่ นครปฐมได้ส่งจดหมายทางไปรษณีย์เสนอขายรถยนต์คันหนึ่งของตนในราคา 500,000 บาท ให้แก่นายปลายซึ่งอยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  หลังจากส่งจดหมายไปแล้ว  นายต้นเกิดเส้นโลหิตในสมองแตกถึงแก่ความตายในวันที่ 4 มกราคม 2552 ดังนี้อยากทราบว่า
(ก)   การแสดงเจตนาขายรถยนต์ของนายต้นมีผลในทางกฎหมายอย่างไร  จงอธิบาย
(ข)   หากข้อเท็จจริงปรากฏว่านายปลายได้ทราบข่าวการตายของนายต้นในวันที่ 5 มกราคม 2552 แต่อยากได้รถยนต์คันที่นายต้นเสนอขาย นายปลายจึงได้เขียนจดหมายสนองตอบตกลงซื้อรถยนต์คันนั้นแล้วส่งไปให้นายต้นในวันที่ 7 มกราคม 2552 และนางสาวกิ่งลูกสาวนายต้นได้รับจดหมายฉบับนั้นไว้  ให้ท่านวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายรถยนต์คันดังกล่าวเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 169 วรรค 2 วางหลักว่า การแสดงเจตนาที่ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลังผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ฯ หรือเสมือนคนไร้ฯ
มาตรา 360 วางหลักว่า ตามมาตรา 169 วรรค 2 ยกเว้นการบังคับ หาก 1)ขัดกับเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือ  2) หากก่อนสนองรับ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ



วินิจฉัย
-          ประเด็นการแสดงเจตนาขายรถยนต์ของนายต้น(คำเสนอ)มีผลทางกฎหมายอย่างไร  กรณีตามอุทาหรณ์ หลังจากนายต้นส่งจดหมายแสดงเจตนาไป แล้วนายต้นเสียชีวิต  เจตนานั้นยังมีผลสมบูรณ์ (ย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลังผู้เสนอจะตาย....มาตรา 169 วรรค 2)
-          ประเด็นนายปลายทำคำสนองเมื่อรู้แล้วว่านายต้นเสียชีวิตมีผลอย่างไร  กรณีตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า ข้อเท็จจริงนายปลายผู้รับคำเสนอได้ทราบก่อนทำคำสนองว่าผู้เสนอตายแล้ว เข้าหลักข้อยกเว้น(มาตรา 360 ที่วางหลักว่า ตามมาตรา 169 วรรค 2 ยกเว้นการบังคับ หาก 1)ขัดกับเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือ  2) หากก่อนสนองรับ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ)  ถือได้ว่าข้อเสนอเป็นอันตกไป คือ ไม่มีคำเสนอ ดังนั้นการทำคำสนองของนายปลายจึงไม่มีผลแต่อย่างใด เพราะเมื่อไม่มีคำเสนอ มีแต่คำสนอง สัญญาไม่เกิด
สรุป  (1) คำเสนอยังมีผลสมบูรณ์ แม้ภายหลังทำคำเสนอผู้เสนอจะตาย(ม.169 วรรค 2)
         (2) สัญญาซื้อขายรถยนต์ไม่เกิด เพราะคำเสนอถูกยกเลิกถือว่าไม่มีคำเสนอ(ม.169+ม.360) มีแต่คำสนอง

2.      มาตรา 159,160,162(คาดว่าน่าจะออกสอบมาตรา 159 หรือมาตรา 162)
มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
      การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาด ซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
      ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลโดยบุคคล ภายนอก การแสดงเจตนานั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ได้รู้ หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้น
มาตรา 162 ในนิติกรรมสองฝ่าย การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งจงใจนิ่งเสีย ไม่แจ้งข้อความจริง หรือคุณสมบัติอันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ การ นั้นจะเป็นกลฉ้อฉล หากพิสูจน์ได้ว่าถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมนั้น ก็คงจะมิได้กระทำขึ้น



ตัวอย่างโจทย์
ข้อ2. 1) ตัวอย่าง นายต้นเอานาฬิกาเรือนชุบทองไปจำนำที่โรงรับจำนำโดยหลอกว่าเป็นนาฬิกาเรือนทองคำแท้ เจ้าของโรงรับจำนำตรวจดูแล้วรู้ว่าเป็นนาฬิกาเรือนชุบทอง แต่เห็นว่านาฬิกาเรือนนั้นเป็นนาฬิกาโบราณหายากและมีคุณค่าจึงรับจำนำไว้ มิได้หลงเชื่อตามคำหลอกลวงแต่อย่างใด ดังนี้ การจำนำนาฬิกาดังกล่าวมีผลตามกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
      การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาด ซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
      ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลโดยบุคคล ภายนอก การแสดงเจตนานั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ได้รู้ หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้น
วินิจฉัย   กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า 
                กลฉ้อฉล คือ การใช้อุบายหลอกลวงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิด เพื่อให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นแสดงเจตนาทำนิติกรรม
                จาก ป.พ.พ.มาตรา 159 สามารถอธิบายความหมายของกลฉ้อฉลโดยทั่วไปได้ดังนี้
                (1) มีการใช้อุบายหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งด้วยการแสดงข้อความให้ผิดไปจากความเป็นจริง อาจทำด้วยวาจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยการแสดงกริยาอาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิดก็ได้
                (2) โดยจงใจหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง
                (3) การใช้อุบายหลอกลวงดังกล่าวนั้นจะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
                จากข้อเท็จจริง การที่นายต้นเอานาฬิกาเรือนชุบทองไปจำนำที่โรงรับจำนำโดยหลอกว่าเป็นนาฬิกาเรือนทองคำแท้ เจ้าของโรงรับจำนำตรวจดูแล้วรู้ว่าเป็นนาฬิกาเรือนชุบทอง แต่เห็นว่านาฬิกาเรือนนั้นเป็นนาฬิกาโบราณหายากและมีคุณค่าจึงรับจำนำไว้ การจำนำนาฬิกาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ แม้นายต้นจะจงใจหลอกลวงโรงรับจำนำด้วยการเอานาฬิกาเรือนชุบทองมาจำนำ โดยหลอกว่าเป็นนาฬิกาเรือนทองคำแท้ก็ตาม แต่เจ้าของโรงรับจำนำตรวจดูแล้วรู้ว่าเป็นนาฬิกาเรือนชุบทองมิใช้ทองคำแท้ จึงมิได้หลงเชื่อตามคำหลอกลวงนั้น กรณีดังกล่าวจึงมิใช่กลฉ้อฉลที่ถึงขนาดอันจะทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆียะตาม ปพพ.ม.1592
สรุป การจำนำนาฬิกาดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะเพราะกลฉ้อฉล เพราะการใช้อุบายหลอกหลวงดังกล่าวยังไม่ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น

ข้อ.2.2 ) คุณนายแดงได้นำสร้อยเพชรปลอม 1 เส้นไปขายให้กับคุณหญิงอ้อย ในราคา 500,000 บาท โดยหลอกว่าเป็นสร้อยเพชรแท้น้ำงาม คุณหญิงอ้อยหลงเชื่อจึงซื้อสร้อยเพชรเส้นนั้นไป ต่อมาคุณหญิงอ้อยได้นำสร้อยเพชรไปให้ร้านเพชรดูเพื่อตีราคา  เจ้าของร้านเพชรได้บอกคุณหญิงอ้อยว่าสร้อยเพชรดังกล่าวเป็นของปลอม ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าการซื้อขายแหวนเพชรนั้นมีผลอย่างไร เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
      การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาด ซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
วินิจฉัย
                กลฉ้อฉล คือ การใช้อุบายหลอกลวงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิด เพื่อให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นแสดงเจตนาทำนิติกรรม
                จาก ป.พ.พ. มาตรา 159 สามารถอธิบายความหมายของกลฉ้อฉลโดยทั่วไปได้ดังนี้
                (1) มีการใช้อุบายหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งด้วยการแสดงข้อความให้ผิดไปจากความเป็นจริง อาจทำด้วยวาจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยการแสดงกริยาอาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิดก็ได้
                (2) โดยจงใจหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง
                (3) การใช้อุบายหลอกลวงดังกล่าวนั้นจะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
กรณีตามอุทาหรณ์ คุณนายแดงนำสร้อยเพชรมาหลอกขายคุณหญิงอ้อย โดยหลอกว่าเป็นสร้อยเพชรแท้น้ำงาม คุณหญิงอ้อยหลงเชื่อจึงซื้อไว้ เข้าหลักแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล ซึ่งหากไม่ได้มีกลฉ้อฉลเช่นนั้น คุณหญิงอ้อยคงไม่ซื้อสร้อยเพชรเส้นนั้น (มาตรา 159 วรรค1+2) การซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆียะ
สรุป การซื้อขายสร้อยเพชรเป็นโมฆียะ เพราะเป็นการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล(มาตรา 159 วรรค 1+2)

3.      มาตรา 193/14(1)-193/28)(ข้อนี้คาดว่าออกมาตรา 193/14(1))
มาตรา 193/14 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็น หนังสือรับสภาพหนี้ให้ ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยาย ว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง
มาตรา 193/28 การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้น ไม่ว่ามากน้อยเพียงใด  จะเรียกคืนไม่ได้  แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม
                บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่การที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ  หรือโดยการให้ประกันด้วย  แต่จะอ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้
ตัวอย่างโจทย์
ข้อ 3/1) นายทองทำสัญญากู้เงินจากนายท้วมจำนวนเงิน 50,000 บาท เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2542 มีกำหนดชำระคืนวันที่ 20 มีนาคม 2543 แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนด นายทองไม่นำเงินมาชำระ นายท้วมได้ทวงถามตลอดมาแต่นายทองก็ยังไม่นำเงินมาชำระแก่นายท้วม  จนกระทั่งวันที่ 10 มีนาคม 2553 (ซึ่งเหลืออีก 10 วัน จะครบกำหนดอายุความ 10 ปี)นายทองได้นำเงินมาชำระให้แก่นายท้วม10,000 บาท และบอกกับนายท้วมว่าจะนำเงินส่วนที่ค้างอยู่มาชำระแก่นายท้วมในภายหลัง แต่หลังจากนั้นนายทองก็ไม่นำเงินมาชำระอีกเลย นายท้วมจึงนำคดีมาฟ้องศาลในวันที่ 10 ตุลาคม 2553 นายทองต่อสู้ว่าตนไม่ต้องชำระหนี้เพราะคดีขาดอายุความแล้ว  นายท้วมอ้างว่าคดียังไม่ขาดอายุความเพราะอายุความสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2553 ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้ออ้างของนายท้วมฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
หมายเหตุ ป.พ.พ.มาตรา 193/30 บัญญัติว่า “อายุความนั้นถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนดสิบปี”
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 193/14 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็น หนังสือรับสภาพหนี้ให้ ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยาย ว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง
วินิจฉัย  กรณีตามอุทาหรณ์นายทองนำเงินมาชำระแก่นายท้วมจำนวน 10,000 บาท พร้อมทั้งบอกแก่นายท้วมว่าจะนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระแก่นายท้วมในภายหลัง  ถือได้ว่านายทองรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง ตามมาตรา 193/14(1) ซึ่งเป็นเหตุให้อายุความซึ่งเหลืออีกเพียง 10 วันสะดุดหยุดลง  นั่นคือเป็นเหตุให้ต้องเริ่มนับอายุความ 10 ปีใหม่ในวันที่ 10 มีนาคม 2553 กำหนดอายุความ 10 ปี จะครบในวันที่ 10 มีนาคม 2563 ข้ออ้างของนายท้วมจึงฟังขึ้น
สรุป ข้ออ้างของนายท้วมจึงฟังขึ้น เพราะอายุความสะดุดหยุดลง(มาตรา 193/14(1)

ข้อ 3/2)   เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2537 นายอาทิตย์ได้ทำสัญญากู้เงินจากนายจันทร์ จำนวน 300,000 บาท โดยมีนายพุธเป็นผู้ค้ำประกัน การกู้เงินรายนี้ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระคืน เพียงแต่ตกลงกันว่า ถ้านายจันทร์ต้องการเงินคืนเมื่อใดให้ทวงถามก่อน หลังจากกู้เงินไปได้ 3 เดือน นายจันทร์ได้ทวงถามให้นายอาทิตย์ชำระเงินตลอดมา แต่นายอาทิตย์ก็ไม่นำเงินมาชำระ จนกระทั่งอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ได้สิ้นสุดลง ต่อมาวันที่ 3 มกราคม 2548 นายอาทิตย์ได้รับมรดกจากป้าเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท จึงได้แบ่งเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระให้แก่นายจันทร์ จำนวน 50,000 บาท โดยไม่ทราบว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้ว ในวันที่นำเงินมาชำระนั้นเอง นายจันทร์ได้ให้นายอาทิตย์ทำหลักฐานเป็นหนังสือให้ตน 1 ฉบับ มีใจความว่า นายอาทิตย์จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่นายจันทร์อีก 100,000 บาท ในวันที่ 30 มกราคม 2548 ดังนี้อยากทราบว่า
ก. ถ้านายอาทิตย์มาทราบภายหลังว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้ว นายอาทิตย์จะเรียกเงินที่ชำระไปแล้ว 50,000 บาท คืนจากนายจันทร์ได้หรือไม่ จงอธิบาย
ข. เมื่อหนี้ถึงกำหนดในวันที่ 30 มกราคม 2548 นายอาทิตย์ไม่นำเงินมาชำระ นายจันทร์จะนำคดีไปฟ้องร้องนายอาทิตย์และนายพุธได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 193/28 การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้น ไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม
           บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่การที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ...แต่จะอ้างความข้อนี้เป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้
วินิจฉัย
(ก)   การที่นายอาทิตย์ได้ทำสัญญากู้เงินจากนายจันทร์จำนวน 300,000 บาท และมิได้นำเงินไปชำระให้แก่นายจันทร์เลย จนกระทั่งอายุความ 10 ปีได้สิ้นสุดลง นายอาทิตย์จึงได้นำเงินไปชำระให้แก่นายจันทร์จำนวน 50,000 บาท โดยไม่ทราบว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้ว ตามหลักการชำระหนี้ ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความนั้นแล้ว ไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่ทราบว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม เนื่องจากสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความมิได้ทำให้หนี้นั้นระงับหรือดับสูญไป เมื่อหนี้นั้นได้ชำระไปแล้วตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้น นายอาทิตย์จะเรียกเงินที่ชำระไปแล้ว 50,000 บาท คืนจากนายจันทร์ไม่ได้
(ข)   เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระในวันที่ 30 มกราคม 2548 นายอาทิตย์ไม่นำเงินมาชำระ นายจันทร์จะนำคดีไปฟ้องร้องนายอาทิตย์ได้ เพราะเมื่อหนี้ขาดอายุความแล้วแม้นายอาทิตย์จะไม่ทราบ แต่นายอาทิตย์ก็ได้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ หนังสือรับสภาพความรับผิดนั้นย่อมใช้บังคับได้
สรุป (ก) นายอาทิตย์จะเรียกเงินที่ชำระไปแล้ว 50,000 บาท คืนจากนายจันทร์ไม่ได้(มาตรา 193/28 วรรคแรก)
        (ข) นายจันทร์จะนำคดีไปฟ้องร้องนายอาทิตย์ได้ แต่ฟ้องนายพุธไม่ได้ เพราะการที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ  หรือโดยการให้ประกันด้วย  แต่จะอ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้(มาตรา 193/28 วรรค 2 )

4.      มาตรา 354+355 หรือ380 หรือ 381(ข้อนี้วิเคราะห์แล้วว่าน่าจะออก มาตรา 354-355)
มาตรา 354 คำเสนอจะทำสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง นั้นท่านว่าไม่อาจจะถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้
มาตรา 355 บุคคลทำคำเสนอไปยังผู้อื่นซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะ ทางและมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง จะถอนคำเสนอของตนเสีย ภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองนั้น ท่าน ว่าหาอาจจะถอนได้ไม่
ตัวอย่างโจทย์
ข้อ 4.1) นายไพโรจน์ซึ่งอยู่ที่จังหวัดลพบุรีส่งจดหมายเสนอขายม้าแข่งตัวหนึ่ง ของตนแก่นายไพรัชซึ่งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ในราคา 150,000 บาท
(ก)   โดยมิได้กำหนดไปในจดหมายเสนอขายนั้นด้วยว่าถ้านายไพรัชต้องการซื้อม้าตัวนั้น ต้องสนองตอบมาภายในเวลาใด กรณีหนึ่ง
(ข)   โดยกำหนดไปในจดหมายเสนอขายนั้นด้วยว่าถ้านายไพรัชต้องการซื้อม้าตัวนั้น ต้องสนองตอบมาภายในวันที่ 15 มกราคม 2546 อีกกรณีหนึ่ง
ในแต่ละกรณีดังกล่าว ถ้านายไพโรจน์ต้องการถอนคำเสนอขายม้าดังกล่าว นายไพโรจน์จะกระทำได้หรือไม่ เมื่อใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 354 คำเสนอจะทำสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง นั้นท่านว่าไม่อาจจะถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้
มาตรา 355 บุคคลทำคำเสนอไปยังผู้อื่นซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะ ทางและมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง จะถอนคำเสนอของตนเสีย ภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองนั้น ท่าน ว่าหาอาจจะถอนได้ไม่
วินิจฉัย
-ประเด็นตาม (ก) นายไพโรจน์จะถอนคำเสนอขายม้าได้หรือไม่ เมื่อใด
กรณีตามอุทาหรณ์ นายไพโรจน์ซึ่งอยู่จังหวัดลพบุรีส่งจดหมายเสนอขายม้าของตนให้นายไพรัชซึ่งอยู่จังหวัดนครราชสีมา เข้าหลักบุคคลทำคำเสนอไปยังผู้อื่นที่อยู่ห่างโดยระยะทางโดยมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง จะถอนคำเสนอของตนเสียภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนอง นั้น หาอาจจะถอนได้ไม่(มาตรา 355)  “เวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนอง”พิจารณาได้จากระยะเวลาที่ควรจะเป็นในการติดต่อทางจดหมายระหว่างนายไพโรจน์และนายไพรัช กล่าวคือตามปกติการส่งจดหมายจากจังหวัดลพบุรีไปจังหวัดนครราชสีมา จะใช้เวลาประมาณ 3 วัน ให้เวลานายไพรัชพิจารณาตัดสินใจ 1 วัน และเมื่อนายไพรัชส่งจดหมายตอบกลับไปยังนายไพโรจน์อีก 3 วัน รวมเป็นเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองในกรณีนี้คือ 7 วัน
    ดังนั้นในกรณี(ก) ตามอุทาหรณ์ นายไพโรจน์สามารถถอนคำเสนอขายม้าของตนได้เมื่อพ้นกำหนด 7 วัน นับแต่เวลาที่ได้ส่งจดหมายคำเสนอขายม้าแก่นายไพรัชไป
-ประเด็นตาม (ข) นายไพโรจน์จะถอนคำเสนอขายม้าได้หรือไม่ เมื่อใด
      กรณีตามอุทาหรณ์นายไพโรจน์ส่งจดหมายเสนอขายม้าของตนแก่นายไพรัชโดยบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองตอบมาภายในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2546  เข้าหลักคำเสนอจะทำสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง ซึ่งไม่อาจจะถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้(มาตรา 354) นายไพโรจน์จึงสามารถถอนคำเสนอของตนได้ภายหลังวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2546 อันเป็นระยะเวลาที่บ่งไว้ให้ทำคำสนอง
สรุป
ก.      นายไพโรจน์สามารถถอนคำเสนอขายม้าของตนได้เมื่อพ้นกำหนด 7 วัน นับแต่เวลาที่ได้ส่งจดหมายคำเสนอขายม้าแก่นายไพรัชไป
ข.      นายไพโรจน์สามารถถอนคำเสนอของตนได้ภายหลังวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2546 อันเป็นระยะเวลาที่บ่งไว้ให้ทำคำสนอง

ข้อ 4.2) .นายน้อยซึ่งอยู่นนทบุรีได้ส่งจดหมายเสนอขายที่ดินของตน  1  แปลง แก่นายมากอยู่ที่เพชรบุรี ในราคา 2 ล้านบาท
  ก. โดยกำหนดระยะเวลาในจดหมายเสนอขายนั้นด้วยว่า ถ้านายมากต้องการซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ให้สนองตอบภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2553
 ข. โดยมิได้กำหนดในระยะเวลาด้วยว่า ถ้านายมาก ต้องการซื้อที่ดินแปลงนั้น จะต้องสนองตอบภายในเวลาใด

 ในแต่ละกรณีดังกล่าว ถ้านายน้อยต้องการถอนคำเสนอขายที่ดินแปลงดังกล่าว นายน้อยจะทำได้หรือไม่ เมื่อใด เพราะเหตุใด
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 354 คำเสนอจะทำสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง นั้นท่านว่าไม่อาจจะถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้
มาตรา 355 บุคคลทำคำเสนอไปยังผู้อื่นซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะ ทางและมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง จะถอนคำเสนอของตนเสีย ภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองนั้น ท่าน ว่าหาอาจจะถอนได้ไม่
วินิจฉัย
-          ประเด็นตาม (ก) นายน้อยจะถอนคำเสนอขายที่ดินได้หรือไม่ เมื่อใด เพราะเหตุใด
กรณีตามอุทาหรณ์ นายน้อยทำคำเสนอประเภทบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง ซึ่งกฎหมายห้ามมิให้ถอนภายในระยะเวลาที่บ่งไว้ กล่าวคือภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2553 นายน้อยจะถอนคำเสนอขายที่ดินของตนไม่ได้(มาตรา 354) แต่สามารถถอนได้เมื่อพ้นกำหนดวันที่ 20 ธันวาคม 2553 ไปแล้ว
-          ประเด็นตาม(ข) นายน้อยทำคำเสนอถึงผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง กฎหมายห้ามมิให้ถอนคำเสนอก่อนระยะเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนอง  ซึ่งระยะเวลาอันควรคาดหมายสำหรับการติตดต่อทางจดหมายในประเทศนั้นมีหลักว่า ระยะเวลาหลังจากส่งคำเสนอทางจดหมายออกไป 3 วันจดหมายน่าจะไปถึงผู้รับ ให้เวลาผู้รับตัดสินใจ 1 วัน และทำคำสนองตอบกลับทางจดหมายอีก  3 วัน รวมระยะเวลาอันควรคาดหมาย 7 วัน  นั่นคือ หากนายน้อยต้องการถอนคำเสนอ สามารถทำได้หลังครบกำหนด 7 วัน หลังจากส่งคำเสนอออกไป (มาตรา 355)
สรุป (ก) นายน้อยสามารถถอนคำเสนอได้เมื่อพ้นกำหนดวันที่ 20 ธันวาคม 2553 ไปแล้ว(มาตรา 354)
          (ข)นายน้อยสามารถถอนคำเสนอ ได้หลังครบกำหนด 7 วัน หลังจากส่งคำเสนอออกไป (มาตรา 355)


http://www.ziddu.com/download/12151677/LA103.doc.html

Read more...

เตรียมตัวก่อนสอบ LW102

เอาไปอ่านก่อนเท่าที่จำเป็น‏

http://www.ziddu.com/download/12083954/Desktop.rar.html


วิเคราะห์ตัวอย่างข้อสอบเก่าที่ใกล้เคียงที่สุด
 
http://www.ziddu.com/download/12083984/FinalOldLW102.rar.html

(กฤษณ์ ขำทวี )
...........................................................................................................


ทำให้word 2003 เปิด 2007 ได้ (โปรดใช้วิจารณญาณในการลงคอมพังผมไม่เกี่ยว *-*)

http://www.ziddu.com/download/12084109/FileFormatConverters.exe.html

Read more...

การสอบ (เปลี่ยนแปลง)

สวัสดีเพื่อนๆ นศ.ราม รุ่น 3 ทุกท่านค่ะ  ขอแจ้งข่าว การสอบในวันที่ 16-17 ตุลาคม นี้นะค่ะ และ วันเปิดเรียนเทอม 2วันเสาร์ที่ 16 ตค. สอบเอกชน ตอนเช้า มี 3 ข้อ
วันเสาร์ที่ 16 ตค. สอบทรัพย์  ตอนบ่าย มี  4 ข้อ
วันอาทิตย์ที่ 17 ตค. สอบละเมิด   ตอนเช้า มี 4 ข้อ ตอนบ่ายอาจมีติวนิติกรรม
วันเสาร์ที่ 23 ตค. สอบซ่อมนิติกรรม  ตอนเช้า  มี 4 ข้อ
***สำหรับคนทีไม่มีการสอบซ่อม เราจะปิดภาคเรียนในวันที่  23-24  และ 30-31 ตุลาคม  เนื่องจากว่า ท่านอาจารย์ที่จะสอนไม่สามารถมาสอนในวันที่ 30-31 ตค. ได้  จึงเลื่อนการสอนไปในวันศุกร์ที่ 5 พย. ตอนเย็น และ วันเสาว์-อาทิตย์ที่ 6-7 พย. ทั้งวันค่ะ อาจมีปล่อยช้านิดหน่อยนะค่ะ
***ส่วนซ่อมรัฐธรรมนูญ  ตกลงว่าจะมีการสอบซ่อมใหม่อีกครั้งค่ะ แต่วันยังไม่ได้กำหนด
***หมายเหตุ*** พี่นฤมลจะมาคุมสอบค่ะ และบอกว่าจะปิดประตูห้องทุกด้าน  จะให้เข้าออกเพียงด้านทางบันไดเท่านั้น
         แลบลิ้นปลิ้นตา ตั้งใจอ่านหนังสือกันนะค่ะ สู้สู้

bier - s.bier99@hotmail.com

Read more...

รวมเว็บกฎหมาย

http://www.thethailaw.com/index.html   <==   thethailaw

http://www.irulaw.com/ram/news.php   <==   คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง

http://board.ru.ac.th/testEMC/index.php  <==   Education Media Center

http://www.bid.ru.ac.th/page/index.asp   <==   Cyber Class Room

http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/link.asp?ID=LW   <==   E-Book Ram

http://www.netithai.com/index.php?PHPSESSID=ca5cf1c548e476fc58c818479e153351&   <==  เนติไทย

http://www.kodmhai.com/index.html   <==  รวมกฎหมายต่างๆ

http://www.sittigorn.net/  <==  อ.เป้

Read more...

About This Blog

  © Blogger template Shush by Ourblogtemplates.com 2009

Back to TOP